Title
นิตยสาร National Geographic Thailand - NGThai.com
Go Home
Category
Description
วิทยาศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ท่องเที่ยว ภาพถ่าย สัตว์โลก สิ่งแวดล้อม ด้วย National Geographic Thailand "เพราะชีวิตคือความอยากรู้"
Address
Phone Number
+1 609-831-2326 (US) | Message me
Site Icon
นิตยสาร National Geographic Thailand - NGThai.com
Page Views
0
Share
Update Time
2022-05-04 08:25:35

"I love นิตยสาร National Geographic Thailand - NGThai.com"

www.ngthai.com VS www.gqak.com

2022-05-04 08:25:35

ScienceHistoryCulturesSustainabilityEnvironmentEducationTravelPhotographyAnimals Skip to content ScienceHistoryCulturesSustainabilityEnvironmentEducationTravelPhotographyAnimals ตามติดชีวิตนกอพยพกับการใส่ห่วงขา ที่อาจบอกได้ถึงความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ Animals กบหม้อต้ม เสื้อหนาวที่ไม่ได้ใส่ และเป้าหมายความยั่งยืน ของ ‘รุ่งโรจน์ รังสิโยภาส’ เบอร์ 1 SCG Sustainability หมอคนเดียวของชุมชน วัย 80 ปีผู้เดินทางข้ามภูเขา อุทิศตนเพื่อคนไข้และบ้านเกิด Cultures CMUTEAM ศูนย์บูรณาการเทคโนโลยีการแพทย์ทันสมัย Education ทรานส์-อิหร่าน ทาง รถไฟอิหร่าน สายมรดกโลก มหัศจรรย์ท่องเที่ยวแห่งเปอร์เซีย Travel ตามติดชีวิตนกอพยพกับการใส่ห่วงขา ที่อาจบอกได้ถึงความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ กบหม้อต้ม เสื้อหนาวที่ไม่ได้ใส่ และเป้าหมายความยั่งยืน ของ ‘รุ่งโรจน์ รังสิโยภาส’ เบอร์ 1 SCG หมอคนเดียวของชุมชน วัย 80 ปีผู้เดินทางข้ามภูเขา อุทิศตนเพื่อคนไข้และบ้านเกิด CMUTEAM ศูนย์บูรณาการเทคโนโลยีการแพทย์ทันสมัย ทรานส์-อิหร่าน ทาง รถไฟอิหร่าน สายมรดกโลก มหัศจรรย์ท่องเที่ยวแห่งเปอร์เซีย Latest Stories GISTDA ชวนส่องสันเขื่อนกะทูนจากห้วงอวกาศ Science หอโบราณคดีเพ็ชรบูรณ์อินทราชัย เล่าประวัติศาสตร์ด้วยมิติใหม่ History พลิกโฉมหน้าเมือง ลูร์ด เมืองแสวงบุญแห่งฝรั่งเศสสู่การท่องเที่ยว Travel เที่ยวเกาะ ซิซิลี เส้นทางแสวงบุญ และตำนานมาเฟียแห่งอิตาลี Travel การกำเนิดภูเขาไฟ Science World Update: วิจัยแนะโลกลด กินเนื้อ 75% แก้ปัญหาสภาพภูมิอากาศ Sustainability New Issue NATIONAL GEOGRAPHIC ฉ.248 (มี.ค.65) Subscribe National Geographic Thailand Travel พายคายัคถ่ายภาพริมคลอง มองเมืองต่างมุม Travel 5 ธีมท่องเที่ยว เปลี่ยนกาตาร์จากจุดพักเครื่องสู่ประสบการณ์ท่องเที่ยวไม่รู้ลืม Travel นักปีนเขาเนปาลพิชิต เคทู (K2) ยอดเขาสูงอันดับสองของโลกในฤดูหนาว Hiking TOHOKU เป็นอยู่อย่างเป็นสุข ทริปท่องเที่ยวที่เป็นมิตรกับธรรมชาติและหัวใจ Featured Science พบ เบสดีเอ็นเอ ทั้ง 5 ในอุกกาบาต ชีวิตตั้งต้นบนโลกอาจมาจากอวกาศ Science World update: พบการระเบิดของดวงดาวในรูปแบบใหม่: ‘ ไมโครโนวา ’ พบการระเบิดของดวงดาวในรูปแบบใหม่: ‘ ไมโครโนวา ’ เผาไหม้ 20,000,000 ล้านล้านกิโลกรัมในเวลาไม่กี่ชั่วโมง ในระบบดาวคู่ เมื่อดาวดวงหนึ่งกลายเป็นดาวแคระขาว (ดาวฤกษ์ที่ตายแล้ว) มันจะดึงดูดก๊าซไฮโดรเจนออกจากดาวคู่ของมันราวกับเป็นแวมไพร์ เมื่อก๊าซสัมผัสกับผิวดาวที่ร้อน การระเบิดก็เกิดขึ้น กลายเป็นการระเบิดรูปแบบใหม่ที่นักดาราศาสตร์เพิ่งค้นพบ เรียกว่า ‘ ไมโครโนวา ’ (Micronova)  โดยการเกิดไมโครโนวาแต่ละครั้ง สามารถเกิดการเผาไหม้ในปริมาณที่เทียบเท่ามหาพีระมิดแห่งกีซาแห่งอียิปต์ 3.5 พันล้านพีระมิด หรือ 20,000,000 ล้านล้านกิโลกรัมในเวลาไม่กี่ชั่วโมง หรือ 2-3 ชั่วโมงตามคำกล่าวของนักวิจัย “เราได้ค้นพบและระบุสิ่งที่เราเรียกว่าไมโครโนวาเป็นครั้งแรก” ซิโมน สการ์ริงกิ (Simone Scaringi) หัวหน้าทีมวิจัยและนักดาราศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเดอแรม (Durham University) ในสหราชอาณาจักรกล่าว แม้จะจัดว่าเป็น ‘โนวา’ แต่ไมโครโนวานี้มีขนาดเล็กกว่าหลายล้านเท่า มันส่องแสงสว่างวาบเพียงครู่เดียวราวกับแสงเฟลช ซึ่งต่างจากโนวาปกติที่ทรงพลังและสร้างจุดแสงบนท้องฟ้านานหลายสัปดาห์  “สิ่งที่น่าเหลือเชื่อก็คือการระเบิดเหล่านี้เกิดขึ้นเร็วมาก ใช้เวลาเพียงไม่กี่ชั่วโมงถึงครึ่งวันแล้วก็หายไป” ดร.สการ์ริงกิกล่าว ในขณะที่พอล กรูท (Paul Groot) นักดาราศาสตร์ในทีมเสริมว่า “เป็นครั้งแรกที่เราได้เห็นแล้วว่าการหลอมไฮโดรเจนสามารถเกิดขึ้นได้ในลักษณะเฉพาะ” “เชื้อเพลิงไฮโดรเจนสามารถบรรจุอยู่ที่ฐานของขั้วแม่เหล็กของดาวแคระขาวบางดวง ดังนั้นการหลอมรวมจะเกิดขึ้นที่ขั้วแม่เหล็กเหล่านี้เท่านั้น ซึ่งจะนำไปสู่การระเบิดไมโครฟิวชันซึ่งที่มีกำลังประมาณหนึ่งในล้านของโนวา […] Science World Update: นาซายืนยัน ‘พบ ดาวหางดวงใหญ่ ที่สุดเท่าที่เคยพบมา’ World Update: นาซายืนยัน ‘พบ ดาวหางดวงใหญ่ ที่สุดเท่าที่เคยพบมา’ นักดาราศาสตร์ เปโดร เบอร์นาร์ดดิเนลลิ (Pedro Bernardinelli) และ เกรี่ เบอรน์สไตน์ (Gary Bernstein) ได้ค้นพบ ดาวหางดวงใหญ่ ที่สุดเท่าที่เคยสังเกตกันมา โดยนาซาได้ยืนยันขนาดของมันอย่างเป็นทางการแล้ว ประเมินว่ามีมวลราว 500 ล้านล้านตันและนิวเคลียส (หรือแก่นกลางของแข็ง) ของดาวหางนั้นกว้างประมาณ 137 กิโลเมตร ในตอนแรกมันถูกตรวจพบเมื่อปี 2010 แต่ยังไม่มีการยืนยันถึงขนาดของมันจนวันนี้ “เราสงสัยมาตลอดว่าดาวหางดวงนี้จะต้องมีขนาดใหญ่เพราะมันสว่างมาก” เดวิด เจวิตต์ (David Jewitt) ศาสตราจารย์ด้านวิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์และดาราศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลอสแองเจลิส (UCLA) กล่าว นาซาบรรยายถึงดาวหางดวงนี้ไว้ว่าเป็นก้อนน้ำแข็งใหญ่ยักษ์ที่สกปรกเย็นยะเยือก ทำให้มันมีชื่อเล่นว่า “ก้อนหิมะสกปรก” (dirty snowball) ในขณะที่ชื่ออย่างเป็นทางการคือ “Bernardinelli-Bernstein” เป็นดาวหางที่ประกอบไปด้วยหิน น้ำแข็ง และเศษฝุ่นอื่นๆ มีอุณหภูมิ -211 องศาเซลเซียส โคจรรอบดวงอาทิตย์ในระยะห่างราว 1.6 ถึง […] Science คลื่นพายุซัดฝั่ง (Storm Surge) คลื่นพายุซัดฝั่ง เป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่มักเกิดขึ้นตามพื้นที่ชายฝั่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่มีพายุ และฤดูมรสุม ซึ่งความรุนแรงมากน้อยขึ้นอยู่กับปัจจัยในเวลานั้น คลื่นพายุซัดฝั่ง (Storm Surge) คือ การยกตัวสูงขึ้นของระดับน้ำทะเลจากอิทธิพลของพายุหมุนเขตร้อน (Tropical Cyclone) ที่มีความเร็วลมตั้งแต่ 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมงขึ้นไป โดยเฉพาะพายุไต้ฝุ่น (Typhoon) และเฮอร์ริเคน (Hurricane) ที่ก่อตัวขึ้นในมหาสมุทร จนเกิดเป็นคลื่นน้ำขนาดใหญ่ที่มีความสูงตั้งแต่ 2 เมตรไปจนถึง 10 เมตร เคลื่อนตัวซัดเข้าหาชายฝั่งอย่างรุนแรง ปัจจัยทั้ง 5 ที่ส่งผลต่อการเกิด คลื่นพายุซัดฝั่ง 1. ความกดอากาศหรือความดันบรรยากาศ (Atmospheric pressure) แรงที่กระทำโดยน้ำหนักของอากาศในชั้นบรรยากาศต่อน้ำในมหาสมุทรหรือพื้นผิวส่วนอื่น ๆ ของโลก ซึ่งความกดอากาศต่ำในบริเวณที่พายุหมุนเขตร้อนก่อตัวขึ้นสามารถส่งผลต่อระดับของน้ำในทะเล เนื่องจากบริเวณขอบของพายุความกดอากาศจะสูงกว่าบริเวณจุดศูนย์กลางของพายุตามธรรมชาติ ทำให้แรงที่เกิดขึ้นสามารถผลักน้ำในส่วนด้านนอกของพายุให้ยกตัวสูงขึ้นตามไปด้วย ซึ่งการเปลี่ยนแปลงความกดอากาศทุก ๆ มิลลิบาร์ สามารถทำให้ระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้นราว 10 มิลลิเมตร 2. ความเร็วลม (Wind Speed) ความเร็วลมที่พัดผ่านพื้นผิวมหาสมุทร ซึ่งเป็นสาเหตุของความสูงชันของคลื่นพายุซัดฝั่ง หรือการเกิดปรากฏการณ์ “เอ็กแมน สไปรอล” […] Science รอยเท้าน้ำ หรือ Water Footprint ทรัพยากรน้ำจืดที่มนุษย์ใช้ในกิจกรรมต่างๆ ถูกประเมินปริมาณการใช้เรียกว่า รอยเท้าน้ำ หรือ Water footprint ซึ่งนำไปวางแผนเรื่องการบริหารจัดการนำ และมูลค่าเศรษฐกิจสิ่งแวดล้อมได้ รอยเท้าน้ำ หรือ “วอเตอร์ฟุตพริ้นท์” (Water Footprint) คือ หนึ่งในเครื่องมือชี้วัดการจัดสรรทรัพยากรน้ำ (จืด) ของมนุษย์ ซึ่งสามารถวิเคราะห์และประเมินปริมาณน้ำใช้ (Water Consumption) ทั้งทางตรงและทางอ้อมในการผลิตสินค้าและการบริการต่าง ๆ ตั้งแต่จุดเริ่มต้นของกระบวนการผลิต การคัดสรรวัตถุดิบ การแปรรูป การขนส่ง รวมไปถึงปริมาณน้ำเสีย (Water Pollution) ที่เกิดขึ้นตลอดห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) จนกระทั่งสินค้าดังกล่าวถึงมือของผู้บริโภค รอยเท้าน้ำ สามารถจำแนกออกเป็น 3 ประเภท คือ รอยเท้าน้ำสีเขียว (Green Water Footprint) หมายถึง ปริมาณน้ำจากหยาดน้ำฟ้า (Precipitations) ที่สะสมอยู่ทั้งในรูปของน้ำในพืชและความชื้นในดิน ซึ่งถูกนำใช้ไปในกระบวนการผลิตสินค้าและบริการที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับพืชผลทางการเกษตรและผลิตภัณฑ์จากการทำปศุสัตว์ รอยเท้าน้ำสีฟ้า (Blue Water Footprint) หมายถึง ปริมาณน้ำจากแหล่งน้ำผิวดินและแหล่งน้ำใต้ดินทางธรรมชาติทั้งหลาย เช่น น้ำในแม่น้ำ […] Science ระบบเนื้อเยื่อพืช (Plant Tissue) เนื้อเยื่อพืช (Plant Tissue) คือกลุ่มของเซลล์พืชที่ผสานรวมกันเป็นโครงสร้างหรืออวัยวะต่าง ๆ เพื่อทำหน้าที่เฉพาะให้แก่พืช เช่น กลุ่มเซลล์ในเนื้อเยื่อส่วนรากที่ทำหน้าที่ดูดซึมสารอาหารจากดิน หรือเนื้อเยื่อส่วนนอกของลำต้นและใบ ที่ทำหน้าที่ป้องกันพืชจากอันตรายภายนอก และการสูญเสียน้ำ การจำแนกชนิดของ เนื้อเยื่อพืช ในกลุ่มพืชดอก (Angiosperm) เนื้อเยื่อพืชสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท เนื้อเยื่อเจริญ (Meristem Tissue) คือ กลุ่มของเซลล์เจริญ (Meristematic Cell) หรือเซลล์มีชีวิตที่มีคุณสมบัติในการแบ่งเซลล์แบบไมโทซิส (Mitosis) อยู่ตลอดเวลา ทำให้พืชเจริญเติบโตได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด ขณะที่พืชยังมีชีวิตอยู่ ดังนั้น เนื้อเยื่อเจริญจึงมักพบอยู่บริเวณปลายยอดและปลายรากของพืช ลักษณะโดยทั่วไปของเซลล์ในเนื้อเยื่อเจริญ – มีนิวเคลียสขนาดใหญ่ – มีผนังเซลล์บางและมีความยืดหยุ่นสูง – เซลล์มีการเรียงชิดติดกันจนไม่มีช่องว่างระหว่างเซลล์ เนื้อเยื่อเจริญสามารถจำแนกออกเป็น 3 ชนิด คือ 1.1 เนื้อเยื่อเจริญส่วนปลาย (Apical Meristem) คือ เนื้อเยื่อที่อยู่บริเวณปลายยอดหรือปลายรากของพืช ทำหน้าที่แบ่งเซลล์เพื่อให้ส่วนปลายยอดและปลายรากของพืชเจริญเติบโตและยืดขยายยาวออกไป  ช่วยเพิ่มความสูงของต้นพืช ซึ่งการเติบโตในลักษณะนี้จัดเป็นการเจริญเติบโตขั้นปฐมภูมิของพืช (Primary Growth) 1.2 […] Science ขยะอาหาร (Food Waste) และการสูญเสียอาหาร (Food Loss) ปริมาณการบริโภคอาหารเพิ่มสูงขึ้นตามความต้องของผู้บริโภค และประชาการที่เพิ่มสูงขึ้น บางพื้นที่บนโลก การเข้าถึงอาหารอาจเป็นเรื่องที่ยากลำบากสำหรับคนบาง ในทางกลับกัน บางพื้นที่ของโลก อาหารก็มีปริมาณมากจนกลายเป็นขยะอาหาร ขยะอาหาร (Food Waste) หมายถึง อาหารเหลือทิ้งในตอนปลายของห่วงโซ่อาหาร (Food Chain) จากทั้งในส่วนของผู้ค้าปลีกและผู้บริโภค ทั้งเศษอาหารที่รับประทานไม่หมด อาหารกระป๋องที่หมดอายุ เศษผักผลไม้ตกแต่งจาน รวมไปถึงอาหารเน่าเสีย และหมดอายุจากการบริหารจัดการที่ไม่เหมาะสมของร้านอาหาร ภัตตาคาร และร้านสะดวกซื้อต่าง ๆ ส่วน“การสูญเสียอาหาร” (Food Loss) หมายถึง ส่วนของอาหารที่หลุดออกจากห่วงโซ่การผลิตเพราะไม่ได้มาตรฐาน ตั้งแต่ในขั้นตอนของการเพาะปลูก เก็บเกี่ยวผลผลิต การแปรรูป รวมถึงระหว่างการขนส่งไปยังเป้าหมายปลายทาง การสูญเสียอาหารในลักษณะนี้ส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นในประเทศที่ยังไม่พัฒนา เนื่องจากการขาดแคลนคลังความรู้ งบประมาณ และเทคโนโลยีการจัดการต่าง ๆ ที่สามารถช่วยยกระดับประสิทธิภาพของการผลิต เก็บรักษา และการขนส่ง ตัวอย่างเช่น ในประเทศทางแทบทวีปแอฟริกา ทุกปีจะมีพื้นที่ทางการเกษตรราวร้อยละ 20 ประสบภัยจากการรุกรานของแมลงศัตรูพืช ทำให้เกิดการสูญเสียอาหารตั้งแต่ต้นทาง ซึ่งมีมูลค่าสูงถึง 4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐหรือเทียบเท่ากับอาหารที่สามารถนำไปเลี้ยงดูผู้คนมากถึง 48 ล้านคน ในช่วงระยะเวลาตลอดหนึ่งปีเลยทีเดียว สาเหตุหลักของการเกิดขยะอาหารทั่วโลก คือ การจัดการที่ขาดประสิทธิภาพของร้านค้าปลีก […] Science Sustainability สร้างบ้านปลาแล้วดีไหม หาคำตอบไปกับทริป Seiko Save The Ocean Environment ก้าวแรกของแบงก์กรุงศรี ที่เริ่มต้น ESG ให้กับสถาบันการเงินไทย Sustainability การ์นิเย่ค้นพบวิธีเพื่อทำให้บรรจุภัณฑ์เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น Featured ทำไม บริษัทยักษ์ใหญ่จึงมุ่งสู่ การจัดอันดับความยั่งยืน Sustainability Environment World Update: ความโลภของมนุษย์ทำ ดินเสื่อมโทรม ร้อยละ 40 Environment สิงห์อาสา ร่วมกับเครือข่ายฯ ชวนชาวบ้านแก้ปัญหาไฟป่าและฝุ่นควันภาคเหนือ และภาคตะวันออกอย่างยั่งยืน ปัญหาไฟป่าในภาคเหนือและภาคตะวันออกถือเป็นภัยพิบัติทางธรรมชาติซึ่งสร้างมลภาวะที่ส่งผลต่อสุขภาพของประชาชนในพื้นที่มาอย่างยาวนาน สิงห์อาสาได้เล็งเห็นและลงมือแก้ปัญหานี้โดยการร่วมมือกับเครือข่ายต่างๆ เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ที่ดีอย่างยั่งยืน เป็นระยะเวลาอันยาวนานที่ประเทศไทยต้องเผชิญกับภัยพิบัติทางธรรมชาติในหลากหลายรูปแบบ โดยเฉพาะอุทกภัย ภัยแล้ง ไฟป่า และภัยหนาว ที่เราอาจกล่าวได้ว่าเกิดขึ้นอยู่ทุกปี โดยภัยธรรมชาติเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงทางสภาวะแวดล้อม ซึ่งเป็นสิ่งที่เราควบคุมไม่ได้โดยสิ้นเชิง เมื่อเกิดขึ้นแต่ละครั้งก็ย่อมสร้างความเสียหายให้กับชีวิตและทรัพย์สินของผู้คน และหน่วยงานห้างร้านต่างๆ เป็นจำนวนมาก ภัยธรรมชาติเหล่านี้อาจเกิดจากธรรมชาติ หรือมนุษย์มีส่วนทำให้เกิดขึ้นก็ได้ และเกิดขึ้นได้ในทุกพื้นที่ของประเทศไทย สำหรับประเทศไทย พบภัยพิบัติต่างๆ ได้แก่ พายุหมุนเขตร้อน (Tropical cyclones) , อุทกภัย (Floods) , พายุฝนฟ้าคะนอง (Thunderstorms) , คลื่นพายุซัดฝั่ง (Storm Surges) , แผ่นดินถล่ม (Land Slides) , แผ่นดินไหว (Earthquake) . คลื่นสึนามิ (Tsunami) , ภัยแล้ง (Droughts)  และ ไฟป่า (Forest Fire) ภัยธรรมชาติเหล่านี้มีโอกาสเกิดขึ้นได้ในประเทศไทย แต่ภัยพิบัติที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งมากที่สุดคือเรื่องของอุทกภัย เพราะประเทศไทยซึ่งมีที่ตั้งอยู่ในเขตร้อน จึงต้องอยู่ภายใต้อิทธิพลของพายุหมุนเขตร้อน และลมมรสุมประจำฤดูกาล […] Environment วิกฤต ขยะพลาสติก ล้นแม่น้ำคงคา คงคาเป็นแม่น้ำศักดิ์สิทธิ์สายหนึ่งในอินเดีย และเป็นแหล่งที่มาของ ขยะพลาสติก ที่ไหลลงสู่มหาสมุทร ในทศวรรษที่ผ่านมา เมื่อโลกตระหนักว่า ขยะพลาสติก ที่สะสมอยู่ในมหาสมุทรต่างๆ เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ความพยายามแก้วิกฤติที่ทบทวีนี้มีทั้งดาษดื่น ฝันเฟื่อง และไม่เพียงพอ  คาดการณ์กันว่าเมื่อถึงปี 2040 ปริมาณขยะพลาสติกที่ไหลลงทะเลต่อปีจะเพิ่มขึ้นเกือบสามเท่า หรือสูงถึง 29 ล้านตันต่อปี คือมีขยะพลาสติกเฉลี่ย 50 กิโลกรัม ทุกๆ หนึ่งเมตรตลอดแนวชายฝั่งทั่วโลก สารจากนักวิทยาศาสตร์ก็คือ ยังไม่สายเกินไปที่จะแก้ไข แต่เลยเวลาสำหรับการลงมือทำเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ไม่เป็นชิ้นเป็นอันแล้ว ขยะพลาสติก ในมหาสมุทรเป็นภัยคุกคามต่อชีวิตในธรรมชาติอย่างกว้างขวาง ตั้งแต่แพลงก์ตอน ไปจนถึงปลา เต่า และวาฬ แต่เรายังรู้น้อยมากเกี่ยวกับกระบวนการที่ขยะเดินทางสู่มหาสมุทร กระนั้นก็เห็นได้ชัดว่า แม่น้ำสายต่างๆ โดยเฉพาะในแถบเอเชียคือเส้นทางหลักๆ ของขยะพลาสติกเหล่านั้น เมื่อปี 2019 สมาคมเนชั่นแนล จีโอกราฟฟิก สนับสนุนการวิจัยเชิงสำรวจในแม่น้ำคงคา ซึ่งไหลผ่านตอนเหนือของอินเดียและบังกลาเทศ ผ่านลุ่มน้ำที่ใหญ่ที่สุดและมีประชากรหนาแน่นที่สุดแห่งหนึ่งของโลก คณะสำรวจ ซึ่งประกอบด้วยนักวิทยาศาสตร์ วิศวกร และฝ่ายสนับสนุน 40 คนจากอินเดีย บังกลาเทศ สหรัฐอเมริกา และสหราชอาณาจักร […] Environment Cultures World Update: แนะนำ ‘ ที่ทำการไปรษณีย์เพนกวิน ’ แห่งขั้วโลกใต้ Cultures การลักลอบขุดดินที่เขาแดง เขาน้อย กำลังทำลายมรดก 1,400 ปีที่สงขลา การเสียโอกาสทางวัฒนธรรมและเศรษฐกิจครั้งใหญ่ของสงขลา กับลักลอบขุดดินรอบโบราณสถาน หัวเขาแดง เขาน้อย ช่วงต้นปี 2565 ข่าวเรื่องการลักลอบขุดดินบริเวณโบราณสถาน หัวเขาแดง และเขาน้อย อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา ถูกนำเสนอในสื่อมากมาย ทำให้เสียงของกลุ่มประชาชนและนักวิชาการที่ออกมาเคลื่อนไหว “ปกป้องหัวเขาแดง” #Save_Singora ดังขึ้นเรื่อยๆ เป็นข่าวร้ายที่ย้อนแย้งกับเจตนารมณ์ของจังหวัดที่ประกาศผลักดันสงขลาให้เป็นเมืองมรดกโลก ซึ่งถ้าว่ากันตามมรดกทางวัฒนธรรมทั้งด้วยโบราณคดีและวิถีชีวิต สงขลานับว่ามีศักยภาพมาก แต่หากยังคงมีการทำลายพื้นที่ใกล้โบราณสถานอย่างอุกอาจ สองความเคลื่อนไหวนี้ก็สวนทางกันสิ้นเชิง เขาแดง เขาน้อย หลักกิโลเมตรที่ 1 ของประวัติศาสตร์สงขลา  คนอาจมองเห็นว่าบริเวณหัวเขาแดงเป็นซากดินเก่า แต่ที่นี่คือโบราณสถานอายุ 1,400 ปี ซึ่งก่อร่างขึ้นในสมัยศรีวิชัย ก่อนที่จะเกิดชื่อตามการเรียกขานของนักเดินเรือชาวเปอร์เชียซึ่งมาทำการค้าสมัยอยุธยา โดยเรียกเมืองท่าซึ่งตั้งอยู่เชิงเขาแดงว่า “ซิงกอรา – Singora”  ชื่อ “สิงหนคร” และชื่อจังหวัดสงขลาก็ผันมาตาม Singora ก่อนการย้ายเมืองสงขลาไปอยู่ฝั่งบ่อยางในปัจจุบัน สุลต่านสุไลมาน เจ้าเมืองคนสำคัญของสงขลามองเห็นชัยภูมิซึ่งเป็นภูเขาอยู่ปากอ่าวทางเข้าทะเลสาบสงขลา จึงสร้างเมืองบนภูเขาล้อมด้วยป้อมปืนใหญ่คอยสังเกตการณ์และป้องกันเมือง มองลงไปยังเห็นท่าเรือที่เป็นจุดศูนย์กลางการค้าและคมนาคมมาจนถึงปัจจุบัน ตลาดหัวแดงยังคงเป็นตลาดใหญ่ที่ผู้คนมาแลกเปลี่ยนสินค้าจากทั่วประเทศ แพขนานยนต์ยังรับส่งผู้คนที่สัญจรไปมาในย่านนี้ ดร.จเร สุวรรณชาต รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย (ด้านสถาปัตย์) บอกว่า พื้นที่บริเวณเขาหัวแดงมีความเฉพาะมากตรงที่ความเป็นปากอ่าว บรรพบุรุษฝั่งหัวเขาแดงจึงเลือกวางป้อมปืนไว้บนเขา […] Cultures รีวิว The Rescue กู้ภัยถ้ำหลวง: ปาฏิหาริย์แห่งชีวิตจากความไม่ยอมแพ้ของมนุษย์ รีวิว The Rescue สารคดีภารกิจกู้ภัยถ้ำหลวงครั้งประวัติศาสตร์ ที่ทำให้มนุษย์เชื่อว่า หากมีความเชื่อมั่น ทุกสิ่งย่อมเป็นไปได้ จาก National Geographic วันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2561 นับเป็นจุดเริ่มต้นของปฏิบัติการค้นหาและกู้ภัยครั้งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่ง เมื่อทีมนักฟุตบอลเยาวชนและผู้ช่วยผู้ฝึกสอนรวม 13 ชีวิตหายตัวไปในถ้ำหลวง ขุนน้ำนางนอน ตำบลโป่งผา อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ภารกิจในครั้งนี้โด่งดังและได้รับการจับตามองจากคนทั่วโลก รวมไปถึงผู้คนจากหลากหลายสัญชาติที่เข้าร่วมปฏิบัติการในครั้งนิ้ หลังจากใช้เวลาเกือบ 3 สัปดาห์ในการกู้ภัย ทีมกู้ภัยได้ช่วยชีวิตทั้ง 13 คนได้ออกมาเป็นผลสำเร็จ ท่ามกลางความยินดีจากผู้คนทั่วโลก ภารกิจในครั้งนี้ได้เป็นเหตุการณ์ในหน้าประวัติศาสตร์ กลายเป็นกรณีศึกษาด้านการกู้ภัย และได้รับการถ่ายทอดลงในสื่อภาพยนตร์, สารคดีต่างๆ มากมาย เวลาผ่านไปเกือบ 4 ปี ผู้ชมชาวไทยเพิ่งได้มีโอกาสรับชมสารคดีเรื่อง The Rescue ภารกิจกู้ภัย ซึ่งเป็นสารคดีที่บอกเล่าเบื้องลึกเบื้องหลังของปฏิบัติการค้นหาและกู้ภัยในครั้งนี้โดยทีมงานจาก National Geographic ผู้ผลิตสารคดีระดับโลก โดยใช้ทีมงานผู้สร้างจากภาพยนตร์สารคดี Free Solo สารคดีดีกรีรางวัลออสการ์เกี่ยวกับนักปีนเขาสูงท้าความตายด้วยมือเปล่าที่ได้เข้าฉายในโรงภาพยนตร์ของไทยมาแล้ว โดยเริ่มมีการเปิดตัวสารคดีนี้ครั้งแรกในปี 2021 ที่ผ่านมา […] Cultures History ตำนาน ซอมบี้ มีที่มาที่ไป และการสร้างความกลัวให้ชาวโลกในรูปแบบใดบ้าง History หลุมศพราชินีใต้เงาของมหาพีระมิดกีซา ที่ไร้การแตะต้องกว่า 4,000 ปี ไม่นานหลังการค้นพบหลุมศพของฟาโรห์ตุตันคามุน ก็มีการค้นพบร่องรอยความมหัศจรรย์ของอารยธรรมอียิปต์โบราณอีกครั้งในรูปแบบของศิลปวัตถุและเครื่องเรือนทองคำมากมายในหลุมศพของพระราชินีเฮเทเฟเรสที่ 1 ความมหัศจรรย์ของอารยธรรมอียิปต์โบราณมีชื่อเสี่ยงโด่งดั่งขึ้นทั่วยุโรปและสหรัฐอเมริกาเมื่อนักโบราณคดี เฮาเวิร์ด คาร์เทอร์ (Howard Carter) ค้นพบหลุมศพของฟาโรห์ตุตันคาเมน (Tutankhamun) ในปี ค.ศ. 1922 กระแสดังกล่าวกลายเป็นแรงบันดาลใจอันล้นหลามสำหรับเหล่านักโบราณคดีในการค้นหาหลุมฟังศพที่ยังคงซ่อนอยู่ภายใต้ที่ราบสูงกีซา (Giza plateau) ที่เหล่านักสำรวจต่างพยายามเร่งการค้นหาของทีมตนเองพร้อมจับตาดูความคืบหน้าของทีมคู่แข่งอื่นๆ ที่ราบสูงกีซา (Giza plateau) เป็นที่ตั้งของกลุ่ม พีระมิดกีซา ซึ่งมีพีระมิดคูฟูที่ถูกสร้างขึ้นในช่วงสหัสวรรษที่ 3 ก่อนคริสตกาล เป็นพีระมิดที่ใหญ่และเก่าแก่ที่สุด ในปี ค.ศ. 1902  กาสตัน มาสเพอโร (Gaston Maspero) นักอียิปต์วิทยาชาวฝรั่งเศส ผู้นำกลุ่มนักวิชาการนานาชาติกลุ่มหนึ่ง ต้องการปกป้องกลุ่มพีระมิดจากความเสื่อมสภาพและการถูกขโมยโบราณวัตถุ มาสเพอโรจึงแบ่งพื้นที่ของที่ราบสูงกีซาให้แก่ทีมนักโบราณคดีที่มีศักยภาพในการขุดค้นที่สุด หนึ่งในทีมที่ได้สิทธิในการขุดค้นคือทีมของ จอร์จ ไรส์เนอร์ (George Reisner) ไรส์เนอร์เป็นนักอียิปต์วิทยาซึ่งมีชื่อเสียงในวงการจากการสำรวจภูมิภาคของอาณาจักรนูเบีย ซึ่งปัจจุบันเป็นพื้นที่ทางตอนใต้ของอียิปต์และซูดาน วันที่ 2 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1925 ขณะที่โมฮัมเมดานิ อิบราฮิม (Mohammedani Ibrahim) ช่างภาพของไรส์เนอร์กำลังถ่ายภาพอยู่ในบริเวณของพีระมิดคูฟู เขาสังเกตเห็นว่าขากล้องของเขาตั้งอยู่บนพื้นปูนขาวซึ่งอาจเป็นเพดานของสิ่งก่อสร้างที่ซ่อนอยู่ใต้ดิน […] History ภาพ การผจญภัย ครั้งประวัติศาสตร์ของเนชั่นแนล จีโอกราฟฟิก ในรอบกว่า 100 ปี รวมภาพ การผจญภัย ครั้งประวัติศาสตร์ ของเนชั่นแนล จีโอกราฟฟิก ในรอบกว่า 100 ปีที่ผ่านมา การก่อตั้งสมาคมเนชั่นแนล จีโอกราฟฟิกในปี ค.ศ. 1888 นำมาซึ่งการผจญภัยและการเดินทางต่างๆ มากมาย ด้วยเป้าหมายในการค้นหาและเพิ่มพูนความรู้แก่สังคม สมาคมได้ช่วยสนับสนุนบรรดานักสำรวจและช่างภาพในการเดินทางไปทั่วทุกสารทิศ ผ่านร้อนและหนาวบนสภาพภูมิประเทศที่เป็นอันตรายในนามของการสำรวจ และสิ่งที่พวกเขานำกลับมาคือเรื่องเล่าของ การผจญภัย และรูปถ่ายที่ผนึกการเดินทางครั้งประวัติศาสตร์ของพวกเขาไว้ นิตยสาร เนชั่นแนล จีโอกราฟฟิก ฉบับภาษาไทย (ภาคออนไลน์) ขอเชิญชมรูปภาพใน การผจญภัย ครั้งประวัติศาสตร์ของนักสำรวจและช่างภาพจากเนชั่นแนล จีโอกราฟฟิก เรื่องโดย LINDSAY N. SMITH แปล นิธิพงศ์ คงปล้อง โครงการสหกิจศึกษากองบรรณาธิการเนชั่นแนล จีโอกราฟฟิก ฉบับภาษาไทย อ่านเพิ่มเติม ภาพนี้ต้องขยาย : จุดจบของทีมสำรวจ History Animals เซลล์ประสาทและพื้นผิวทำงานอย่างไร เมื่อ ‘หมึกสาย’ ต้องพรางตัวอย่างแนบเนียน Animals ความอัศจรรย์พันลึกของ ม้าน้ำ และภัยที่คุกคาม Animals World Update: ผู้เชี่ยวชาญระบุ 3 เหตุผลที่ แมวกวน ให้คุณตื่นตั้งแต่เช้ามืด Animals TagsTravelScienceEnvironmentCulturesHistoryAnimalsPhotographyNews & ActivityExplorers FairAutoFollow MeNATIONAL GEOGRAPHIC ASIA Contactเว็บไซต์ : ngthai.com บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน) Tel : 02-422-9999 ต่อ 4244 © COPYRIGHT 2022 AMARIN PRINTING AND PUBLISHING PUBLIC COMPANY LIMITED.